ประเด็นหนึ่งที่ร้อนแรงและเป็นที่ถกเถียงมากที่สุดในการประชุมครั้งนี้คือ จะกำหนดแนวทางการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่นำไปสู่ภาวะโลกร้อนและวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร
ขณะที่หลายประเทศรวมถึงสหประชาชาติพยายามผลักดันให้ทั่วโลกยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล บางประเทศเสนอว่าให้ค่อยๆ ลดการใช้เชื้อเพลิงชนิดดังกล่าวล ล่าสุดแนวทางหนึ่งที่ประเทศภาคีเสนอคือ การเพิ่มการผลิตพลังงานสะอาดขึ้น 3 เท่าภายในปี 2030
“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” วาระสำคัญประชุม UNGA
เยอรมนี เจอหิมะหนักที่สุดในรอบเกือบ 100 ปี
ระหว่างการประชุมช่วง “การเร่งการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม เท่าเทียม และเป็นระบบ” หรือ “Fast-tracking the Just, Equitable & Orderly Energy Transition” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุม COP28 เมื่อวันเสาร์ที่ 2 ธ.ค. ที่ผ่านมา
สุลต่าน อัลเหม็ด อัล-จาเบอร์ ประธานการประชุม COP ครั้งนี้ได้ออกมาประกาศผลักดันข้อตกลงว่าด้วยการเพิ่มการผลิตพลังงานสะอาดให้มากขึ้นกว่าเดิม 3 เท่าภายในปี 2030 ซึ่งก็คือภายในอีก 7 ปีข้างหน้า ประธานการประชุม COP28
ยังระบุด้วยว่า ขณะนี้มีทั้งหมด 117 ประเทศที่ลงนามรับรองข้อเสนอแล้ว พร้อมเรียกร้องชาติต่างๆ ที่กำลังพิจารณาอยู่ให้รับรองข้อตกลงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ข้อตกลงที่เจ้าภาพการประชุม COP28 เรียกร้องให้ชาติต่างๆ ลงนามคืออะไร ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่ผลักดันโดยสหภาพยุโรป สหรัฐฯ และเจ้าภาพการประชุมอย่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
เป็นข้อตกลงที่เสนอให้ประชาคมโลกสนับสนุนการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 3 เท่าเพื่อเป็นแนวทางในการลดสัดส่วนการผลิตเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลต่างๆ อย่างถ่านหิน น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ
ซึ่งเชื้อเพลิงเหล่านี้นำไปสู่การลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันเป็นส่วนประกอบหลักของก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ
ก๊าซเรือนกระจกคืออะไรก๊าซเรือนกระจก คือก๊าซที่สามารถดูดซับและกักเก็บความร้อนที่แผ่ออกจากโลก ซึ่งมีผลทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ก๊าซในกลุ่มนี้ประกอบด้วย คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) และ ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6)
แต่ก๊าซที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญคือ คาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากก๊าซตัวนี้มีปริมาณมากถึงร้อยละ 70 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด นอกจากปริมาณที่ถูกปลดปล่อยจะมากที่สุดแล้ว คาร์บอนไดออกไซด์ยังคงอยู่ในบรรยากาศได้นานกว่า ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนโลกมากที่สุด
นี่จึงเป็นสาเหตุที่ประชาคมโลกสัญญาที่จะหาทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมในการประชุม COP21 ที่กรุงปารีสของฝรั่งเศสเมื่อปี 2015
แนวทางหนึ่งที่หลายฝ่ายเชื่อว่าจะช่วยให้ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้คือ ต้องลดหรือยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นต้นเหตุของการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาล โดยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่าหากจะจำกัดอุณหภูมิพื้นผิวโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาสเซลเซียสให้ได้จริง โลกต้องตัดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลงทันที
การกำหนดแนวทางการลดหรือยุติการผลิตและใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจึงเป็นวาระร้อนแรงของที่ประชุม COP โดยเฉพาะในปีนี้ นี่ทำให้ร่างข้อตกลงการเร่งการผลิตพลังงานสะอาดขึ้น 3 เท่าที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปผลักดันให้มีการรับรอง จึงถือเป็นแนวทางหนึ่งในการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด เพื่อค่อยๆ “ลด” สัดส่วนการผลิตและใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการจำกัดอุณหภูมิโลก
ขณะเดียวกัน นอกจากจะผลักดันให้ประเทศต่างๆ ที่ยังไม่ได้รับรองร่างข้อตกลงลงนามแล้ว สุลต่านอัล-จาเบอร์ ประธานการประชุมยังเรียกร้องไปยังผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติให้ปรับตัวสอดคล้องตามเป้าหมายการกดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสด้วย
แม้ว่าเจ้าภาพการประชุม COP28 จะออกมาเสนอแนวทางการลดการใช้พลังงานฟอสซิล ท่ามกลางการถกเถียงว่าจะค่อยๆ ลดหรือกำหนดกรอบเวลายุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ก่อนเริ่มการประชุม หลายฝ่ายตั้งคำถามถึงความเหมาะสมในการเป็นเจ้าภาพ COP28 ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มาตลอด เนื่องจากมีสถานะเป็นชาติผู้ผลิตน้ำมันที่มีผลประโยชน์ในอุตสาหกรรมดังกล่าว
ล่าสุดเมื่อวานนี้ 3 ธ.ค. สำนักข่าว The Guradian ได้ออกมาแฉประธานการประชุม COP28 ซึ่งเคยออกมากล่าวว่า การ “ยุติ” การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รับรองว่าจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการกดอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาจริง
โดยประธานการประชุม COP28 ได้ กล่าวประเด็นนี้ระหว่างประชุมออนไลน์เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า “ไม่มีหลักฐานใดยืนยันว่า การยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างสิ้นเชิง หรือ ‘phase-out’ จะช่วยให้โลกบรรลุเป้าหมายการจำกัดไม่ให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงเกิน 1.5 องศาเซสเซียสได้ นอกจากนี้ ระหว่างการสนทนา เขายังระบุอีกว่าการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไม่ใช่หนทางที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เว้นเสียแต่ว่าอยากจะพาโลกกลับสู่ยุคหิน
การระบุเช่นนี้ทำให้หลายฝ่ายกังวลโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการหาทางให้ประชาคมโลก ยอมรับการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหนึ่งในวาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้ อีกทั้งเป้าหมายดังกล่าวยังถือเป็นหมุดหมายสำคัญในการลดอุณหภูมิพื้นผิวโลกตามข้อตกลงปารีส
ขณะนี้กว่า 100 ประเทศในยุโรป แอฟริกา เอเชีย กลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกและกลุ่มประเทศหมู่เกาะแคริเบียนได้แสดงท่าทีสนับสนุนให้ยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลแล้ว ส่วนชาติผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลกอย่างสหรัฐฯ ก็ยอมรับการยุติแล้วเช่นกัน
อย่างไรก็ดี การถกเถียงว่าจะลดหรือยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลยังเป็นประเด็นที่มีความซับซ้อน เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดนิยามที่ทุกฝ่ายยอมรับตรงกัน
การออกมากล่าวปักว่าไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลของเจ้าภาพการประชุม COP28 มาสู่ความโกรธเคืองของกลุ่มประเทศหมู่เกาะ ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมากจากวิกฤตโลกร้อนที่ทำให้ระดับน้ำทะเลหนุนสูง
หลังจาก The Guardian ออกมาแฉท่าทีต่อการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลของประธานการประชุม COP28 วันนี้ช่วงเช้าตามเวลาท้องถิ่น ระหว่างการแถลงข่าวของกลุ่มพันธมิตรรัฐเกาะขนาดเล็ก หรือ Alliance of Small Island States ที่การประชุม COP28
ทีนา สเตจ ผู้แทนด้านภูมิอากาศของหมู่เกาะมาร์แชลได้ออกมาย้ำในฐานะตัวแทนของกลุ่มพันธมิตรว่า การยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลยังเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะรักษาไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียล โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มประเทศหมู่เกาะ ซึ่งมีลักษณะเป็นที่ลุ่มต่ำและเปราะบางอย่างมากจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากภาวะโลกร้อน
นอกจากนี้ ผู้แทนจากกลุ่มพันธมิตรประเทศเกาะยังระบุว่า ประธานการประชุม COP28 ต้องรับผิดชอบเพื่อให้โลกสามารถกดระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลกไม่ให้สูงขึ้นตามเป้าหมายที่จำกัดไว้ได้ อย่างที่เคยกล่าวไว้ว่าการบรรลุการจำกัดอุณหภูมิที่ 1.5 องศาเซลเซียสคือ “เป้าหมายสูงสุด” ซึ่งในมุมของกลุ่มพันธมิตรประเทศเกาะก็คือ การยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
ขณะเดียวกัน นอกสถานที่ประชุม นักกิจกรรมจำนวนหนึ่งจากญี่ปุ่นก็ได้สวมชุดปิกกาจู ตัวละครยอดนิยมจากอนิเมชันจากเรื่องโปเกมอน พร้อมป้ายข้อความ เช่น “ลาก่อน เชื้อเพลิงฟอสซิล” หรือ “ไม่เอาถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ”
ออกมาเรียกร้องให้ที่ประชุมยอมตกลงที่จะยุติการใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มหาศาล
นอกจากนี้ บุคลากรทางการแพทย์ก็ได้ออกมาเรียกร้องให้มีการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเช่นกันโดยที่ผ่านมา ประชากรโลกเปราะบางต่อปัญหาสุขภาพที่เกิดจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศร้อนจัด ปัญหาระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเกิดจากมลพิษทางอากาศ ล่าสุดประธานการประชุม COP28 ได้ออกมากล่าวเกี่ยวกับสิ่งที่ The Guardian เปิดเผยแล้ว
สุลต่าน อัลเหม็ด อัล-จาเบอร์ ประธานการประชุม COP28 ได้ออกมาตอบโต้ที่สำนักข่าว The Gurdian ออกมาแฉว่า เขาเคยระบุว่าไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันได้ว่า การยุติการใช้พลังงานฟอสซิลจะทำให้โลกสามารถกดอุณหภูมิไว้ไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียสได้ เขาระบุว่า นี่เป็นการตีความผิด เพราะเขาเคยกล่าวไว้ในหลายวาระแล้วว่า วิทยาศาสตร์คือรากฐานของหลักยุทธศาสตร์ของ COP28
นอกจากนี้ ประธาน COP28 ยังกล่าวด้วยว่านี่เป็นความพยายามในการด้อยค่าสิ่งที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พยายามสื่อสารออกไปในฐานะเจ้าภาพการจัดประชุม
สพฐ.ประกาศวันหยุด 4 – 8 ธ.ค. เพื่อให้นักเรียนเตรียมสอบ TGAT – TPAT
เน็ตไอดอลสาวร้องคลินิกเผายาหน้าท้อง ทำไฟลุกท่วมตัว! คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ม.แม่ฟ้าหลวง ร่อนแถลงการณ์ แจงปมยื่นฟ้อง “ดร.เค็ง”