เรียกได้ว่า…เป็นการทำหน้าที่ในรัฐสภาครั้งแรกของทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ในการตรวจสอบซึ่งกันและกัน ส่วนฝีไม้ลายมือในการซักถามของฝ่ายค้าน ในการตอบคำถามของฝ่ายรัฐบาล ก็ต้องรอดูกันต่อไป!!
แต่!! สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนคนไทยทั้งประเทศจากถ้อยแถลงนโยบายครั้งนี้ คือ การช่วยให้รับรู้รับทราบว่าประเทศไทยในมือของ รัฐนาวา “เศรษฐา” นั้นจะเดินไปในทิศทางใด? การทวงถามคำสัญญาที่พรรคร่วมรัฐบาลได้ให้ไว้ก่อนการเลือกตั้งจากพรรคฝ่ายค้าน ได้กลายเป็นจุดสำคัญว่า 11 พรรคร่วมรัฐบาล สามารถเรียกความเชื่อมั่นของสังคมและคนไทยในการเริ่มต้นทำงานได้มากน้อยเพียงใด?
รายละเอียด 55 หน้า
เบื้องต้น!! ถ้อยแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 11 ก.ย.นี้ ได้มีการเผยแพร่รายละเอียดมากถึง 55 หน้า โดยสาระสำคัญส่วนหนึ่งในการวางกรอบนโยบายในการบริหารและพัฒนาประเทศ ตามกรอบความเร่งด่วน แบ่งเป็น กรอบระยะสั้น ที่อธิบายความจำเป็นของรัฐบาลที่ต้องกระตุ้นการใช้จ่าย เพื่อจุดประกายให้เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจกลับมาเติบโตอีกครั้ง รวมไปถึงการเร่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชนอย่างเร่งด่วนและรวดเร็ว ขณะที่กรอบระยะกลางและระยะยาว ที่รัฐบาลจะเสริมขีดความสามารถให้กับประชาชน ผ่านการสร้างรายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับประชาชนทุกคน
เงินหมื่นบาทกระตุกศก.
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของนโยบาย 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ที่ทำหน้าที่เป็นตัวจุดชนวนที่กระตุกเศรษฐกิจประเทศให้ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยการส่งเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง และกระจายไปยังทุกพื้นที่ให้หมุนเวียนในเศรษฐกิจระบบฐานราก
นอกจากนี้ยังมีการแก้ปัญหาเร่งด่วน หนี้สินทั้งภาคเกษตร ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน ด้วยการพักหนี้เกษตรกร การออกมาตรการประคองหนี้สินและต้นทุนทางการเงิน ที่ได้รับผลกระทบจากโควิดให้ฟื้นตัวและกลับมาดำเนินธุรกิจอีกครั้ง รวมไปถึงการแก้ไขหนี้สินของกลุ่มอื่น ๆ โดยต้องไม่ขัดต่อวินัยการเงินการคลัง และไม่ทำให้เกิดการจงใจเบี้ยวหนี้ เช่นเดียวกับการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ที่รัฐบาลจะสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการราคาพลังงานทั้งค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในทันที รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้พลังงานของประเทศ โดยวางแผนความต้องการและสนับสนุนการจัดหาแหล่งพลังงานส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน เร่งเจรจาการใช้พลังงานในพื้นที่อ้างสิทธิกับประเทศข้างเคียง และสำรวจแหล่งพลังงานเพิ่มเติม รวมถึงการจัดหาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ
ท่องเที่ยวกุญแจดอกแรก
เช่นเดียวกับการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ที่เป็นกุญแจดอกแรกในการสร้างรายได้ที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระยะสั้นและสร้างงานให้กับคนไทย โดยการเปิดประตูรับนักท่องเที่ยว ด้วยการอำนวยความสะดวก ปรับปรุงขั้นตอนการขอวีซ่า และการยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมวีซ่าสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศเป้าหมาย รวมไปถึงการร่วมกับภาคธุรกิจเป็นเจ้าภาพจัดงานแสดงสินค้า งานเทศกาลระดับโลก เพื่อยกระดับประเทศไทยให้เป็นสถานที่สำหรับการจัดงานแสดงต่าง ๆ การปรับปรุงระบบคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยจะปรับปรุงสนามบินและจัดการเที่ยวบินของสนามบินทั่วประเทศให้มีประสิทธิภาพ เพียงพอรองรับนักท่องเที่ยวได้ หรือแม้แต่การแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันและปราบปรามการเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
เดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญปี 60
ขณะที่นโยบายเร่งด่วนสุดท้าย ของ “รัฐนาวา เศรษฐา 1” คือการแก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญ ปี 60 เพื่อให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยยึดรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และไม่แก้ในหมวดพระมหากษัตริย์ โดยรัฐบาลจะหารือแนวทางในการทำประชามติที่ให้ความสำคัญกับการทำให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการออกแบบกฎ กติกาที่เป็นประชาธิปไตยทันสมัยและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน รวมไปถึงการหารือแนวทางการจัดทำรัฐธรรมนูญในรัฐสภา เพื่อให้ประเทศสามารถเดินไปข้างหน้าได้
ไร้ค่าแรง 600 บาท
อย่างไรก็ตามถ้อยแถลงนโยบายในครั้งนี้ ไม่มีนโยบายหาเสียงที่พรรคเพื่อไทยเคยพูดไว้ในหลายเรื่องตั้งแต่รถไฟฟ้ากทม. 20 บาทตลอดสาย หรือเรื่องของทุกครอบครัวมีรายได้ไม่น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน แม้แต่ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวันภายในปี 70 รวมไปถึงเงินเดือนผู้จบปริญญาตรี 25,000 บาทต่อเดือน
แม้ถ้อยแถลงนโยบายของรัฐบาลโดยกรอบกว้าง ๆ ก็ไม่ได้แตกต่างจากสิ่งที่รัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกฯ และ รมว.คลัง เศรษฐาที่ให้สัมภาษณ์อยู่ทุกวี่ทุกวัน เพียงแค่การจัดคำแถลงก็ต้องร้อยเรียงให้สวยหรูว่ารัฐบาลจะดำเนินการอะไรบ้าง เพราะอย่างน้อยก็ต้องสื่อสารให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศได้รับฟังรับรู้ สำหรับ
คนส่วนหนึ่งที่ติดตามการทำงานของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด
รอไล่จี้นโยบายหลัก
แต่!! การแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในครั้งนี้ก็ปฏิเสธไม่ได้ที่เชื่อได้ว่าพรรคฝ่ายค้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคก้าวไกลที่เตรียมตัวเตรียมฝีมือเต็มที่ที่จะตั้งคำถามไปยังรัฐบาลถึงนโยบายต่าง ๆ โดยเฉพาะในเรื่องของการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่ต้องใช้งบประมาณมากถึง 5.6 แสนล้านบาทจะมาจากไหน อย่างไร แม้เบื้องต้นจะมีกระแสข่าวออกมาประปรายถึงแหล่งที่มาของเงิน ที่พยายามอย่างยิ่งในเรื่องของการกู้!! แต่สุดท้ายจะออกมาอย่างไร จะยืมเงินจากแบงก์เฉพาะกิจของรัฐออกมาร่วมด้วยช่วยกันก่อน ตาม พ.ร.บ.การเงินการคลัง ตามมาตรา 28 ที่เปิดช่อง และยังมีวงเงินเหลืออยู่ที่ออกมาสนับสนุนนโยบายในเรื่องนี้ได้ แต่ก็เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น
หรือแม้แต่เรื่องของการลดราคาค่าพลังงาน การปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ที่เปิดทางให้มีการนำเข้าน้ำมันโดยเสรี รวมไปถึงทุนผูกขาดต่าง ๆ เช่นเดียวกับเรื่องของ “หนี้” ที่รัฐบาลชุดนี้ประกาศชัดเจนว่าจะพักหนี้ให้เกษตรกร ให้เอสเอ็มอี และยังมีแนวทางที่จะสางสารพัดปัญหาหนี้ให้กับกลุ่มคนเปราะบาง ทั้งหนี้ครู หนี้ข้าราชการ รวมไปถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เชื่อได้ว่าฝ่ายค้านจ้องเจาะล้วงลึกข้อมูลและตั้งคำถามไปถึงฝ่ายรัฐบาล แม้อาจเป็นเพียงกระทบชิ่งไปยังทุนใหญ่ ทุนผูกขาด ขณะเดียวกันก็ยังมีอีกมากมายสารพัดนโยบาย ที่พรรคฝ่ายค้านมองว่าเป็นเพียงแค่กรอบ แต่ไม่มีรายละเอียด
แค่ตั้งคำถามไม่ได้ซักฟอกคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
การตั้งคำถามของพรรคฝ่ายค้านในครั้งนี้…เป็นเพียงการตั้งคำถาม ไม่ใช่เป็นการซักฟอกรัฐบาล แต่หากคำตอบที่ได้ไม่ชัดเจนก็นำไปสู่การกระตุกความเชื่อมั่นได้ไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะ “การกู้” เพื่อมาทำนโยบายประชานิยมที่ถนัด เพราะอย่าลืมว่า ที่ผ่านมาวงเงินกู้ทั้งหลายกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ยังไม่มีการจ่ายหนี้คืน หรือแม้แต่หนี้ก้อนเก่าครั้งวิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อปี 40 ก็ยังใช้หนี้ไม่หมด จึงถือเป็นเรื่องใหญ่!! ที่รัฐบาลต้องตอบถำถามให้ได้ แม้ว่าจะยังไม่ได้เข้ามาบริหารประเทศเต็ม 100% ก็ตาม
เพราะเวลานี้พรรคฝ่ายค้านเค้าได้เตรียมตัวกันอย่างเต็มที่ ถึงขนาดขนขุนพลกว่า 30 ชีวิต มาเข้าค่ายเข้าโรงเรียนประจำ เพื่อติวเข้มการอภิปรายนโยบายรัฐบาลครั้งนี้กันทีเดียว!!
หลังจากนี้บรรดาคอการเมืองหรือคนที่สนใจก็ติดตามการแถลงนโยบาย การตอบคำถามของพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 11 พรรค กันอย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะนี่เพิ่งเป็นบททดสอบแรกเท่านั้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง!!
เร่งช่วยสตาร์ทอัพเริ่มต้น
“ยุทธนา ศรีสวัสดิ์” นายกสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย หรือไทย สตาร์ทอัพ และผู้ร่วมก่อตั้ง iTAX บอกว่า อยากให้รัฐบาลใหม่มีนโยบายด้านสตาร์ทอัพ ด้วยการเปลี่ยนประเทศไทย จากประเทศ “ยูสเซอร์” เป็น “เมกเกอร์” เพราะปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีที่เป็น “เมด อิน ไทยแลนด์” ที่ส่งไปต่างประเทศไม่มีเลย มีแต่การนำเข้า ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลที่ไทยต้องพึ่งพาต่างประเทศอย่างเดียว ขณะที่สมาชิกในสมาคมฯ มีหลายบริษัทที่เป็นเมกเกอร์ มีแนวคิดพัฒนาโซลูชัน หรือผลิตภัณฑ์มาช่วยคนไทย หรือแก้ปัญหาประเทศ แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเท่าที่ควร โดยรัฐบาลจำเป็นต้องมีทุนสนับสนุนสตาร์ทอัพมากขึ้น โดยเฉพาะในสตาร์ทอัพระยะเริ่มต้น ซึ่งปัจจุบันอาจมีอยู่แล้ว โดยมีวงเงินให้ 1 แสนบาท-1 ล้านบาท แต่ยังไม่พอ ควรปรับเงินทุนให้มีวงเงินมากขึ้น เพราะหากจะทำธุรกิจสตาร์ทอัพ ต้องมีการลองผิดลองถูก จนเจอผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ตลาดต้องการ
นอกจากนี้อยากให้รัฐสนับสนุนเรื่องการศึกษาเพื่อให้มี เทค ทาเล้นท์ หรือ กลุ่มคนที่มีทักษะไอทีเพื่อพัฒนาดิจิทัล โปรดักส์ ซึ่งไทยยังขาดอยู่มากโดยมีความต้องการปีละไม่ต่ำกว่า 1 แสนคนต่อปี แต่สามารถผลิตได้เพียง 3 หมื่นคนต่อปี รวมถึงสนับสนุนให้คนกลุ่มนี้ที่เป็นต่างชาติเข้ามาทำงานในไทยมากขึ้น โดยการออกมาตรการที่จูงใจคนกลุ่มนี้เข้ามา อาทิ วีซ่า เป็นต้น เพราะคนพวกนี้หากเข้ามาทำงานในไทยก็ต้องกินต้องใช้ ต้องมีค่าที่อยู่อาศัย และต้องเสียภาษีรายได้ ถือเป็นประโยชน์กับประเทศไทย
หนุนมาตรการเร่งด่วน
“บุรินทร์ อดุลวัฒนะ” หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ และกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้ เติบโตน้อยกว่าที่คาด เพราะได้รับผลกระทบจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอก โดยปัจจัยภายนอกเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่งผลให้การส่งออกการค้าถดถอย ขณะที่การท่องเที่ยวที่เป็นความหวัง ก็ฟื้นตัวได้ช้า โดยเฉพาะตลาดหลักอย่างจีนที่มาเพียง 2 ล้านคนจากเป้าหมาย 5 ล้านคน ขณะเดียวกันก็เผชิญปัจจัยภายใน ซึ่งช่วงสุญญากาศหลังการเลือกตั้ง 3 เดือน ทำให้ความเชื่อมั่นในการบริโภคและการลงทุนชะลอตัว จึงเห็นด้วยที่รัฐบาลชุดใหม่จะมีการอัดฉีดมาตรการเร่งด่วนกระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้ผลอย่างรวดเร็ว ทั้งมาตรการลดค่าไฟฟ้าและพลังงาน รวมถึงโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท น่าจะช่วยปลุกเศรษฐกิจให้คึกคักได้ แต่ควรทำในระยะสั้นเพื่อไม่ให้เป็นภาระทางการคลังมากเกินไป เพราะใช้เงินมากกว่า 5 แสนล้านบาท
โครงการเหล่านี้มีความจำเป็น แต่จะต้องดูในรายละเอียดว่ารัฐมีการกำหนดรูปแบบอย่างไร เช่น การนำไปใช้จ่าย ควรสนับสนุนให้ใช้จ่ายกับร้านค้ารายย่อย หรือเอสเอ็มอีเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของเงินได้หลายรอบ แต่หากให้ใช้จ่ายตามร้านแฟรนไชส์หรือร้านสะดวกซื้อขนาดใหญ่ อาจทำให้เงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจน้อยกว่าที่คาด และยังมองว่ารัฐบาลควรคัดกรองผู้ได้สิทธิรับเงินให้กับคนที่มีรายได้น้อยหรือมีรายได้ปานกลางก่อน เพื่อแบ่งเบาภาระงบประมาณ
รื้อโครงสร้างลดค่าไฟ
“รสนา โตสิตระกูล” อนุกรรมการบริการสาธารณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม สภาองค์กรผู้บริโภค มองว่า การลดราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าให้กับประชาชน ต้องเป็นแบบยั่งยืนไม่ใช่เป็นเพียงแค่โปรโมชัน!! 3 เดือน หรือ 6 เดือนเสร็จแล้วก็จบไป เพราะสุดท้ายภาระยังคงตกอยู่กับประชาชนเหมือนที่ผ่าน ๆ มา โดยในส่วนของการลดค่าไฟนั้นหากใช้แนวทางการยืดหนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ออกไป ท้ายที่สุด…ประชาชนก็ต้องจ่ายหนี้ที่แถมเพิ่มดอกเบี้ยอีกในอนาคต ซึ่งนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง จะมีตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. ต้องกำหนดให้บริษัทปิโตรเคมี ที่ได้รับสิทธิพิเศษซื้อก๊าซในอ่าวไทยที่มีราคาต่ำหันมาใช้ราคา “พูล ก๊าซ” ซึ่งเป็นราคาที่รวมก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่นด้วย แล้วนำก๊าซฯนี้มาลดค่าไฟได้ประมาณปีละ 40,000 ล้านบาท คิดเป็นการลดค่าไฟลงประมาณหน่วยละ 20 สตางค์ เพียง 2 ปี ก็ใช้หนี้ กฟผ.ได้หมด ถ้ากล้าเสนอ ครม. กล้าทำ จะเป็นการสร้างประวัติให้กับพรรคได้อย่างดีเลย แต่ต้องถามว่า กล้าทำหรือไม่?
ส่วนการลดราคาน้ำมัน ขอให้ปรับลดทั้งดีเซลและกลุ่มเบนซิน ไม่ใช่ลดเฉพาะดีเซลเพราะถือว่าไม่ยุติธรรม และแนวทางที่ยั่งยืนคือการดูโครงสร้างราคาที่ต้องควบคุมไม่ให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภคเกินไป ทั้งราคาเนื้อน้ำมันหน้าโรงกลั่น ค่าการตลาด ที่เวลานี้กลุ่มเบนซินมีค่าการตลาดที่สูงมาก ซึ่งโดยเฉลี่ยควรอยู่ที่ลิตรละ 2 บาท หากทำได้ราคาขายปลีกจะลดได้ถึงลิตรละ 1 บาท
ต้องตอบโจทย์ประชาชน
“ศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธนาคารทิสโก้ ระบุว่า รัฐบาลชุดใหม่ควรนำนโยบายทุกพรรคการเมืองที่ดี รวมถึงของพรรคฝ่ายค้าน มาจัดลำดับความสำคัญเพื่อตอบโจทย์ประชาชนและสังคมอย่างแท้จริง โดยนำจุดแข็งของประเทศมาเป็นจุดขาย ไม่ว่าจะเป็นการเกษตรที่ต้องทำให้เป็นครัวไทยสู่ครัวโลก สร้างผลิตภัณฑ์การเกษตรให้มีคุณค่า ให้ทั้งกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงดีอีเอส สอดประสานสร้างโซเชียล อีคอมเมิร์ซและดิจิทัลแพลตฟอร์มที่ขายไปทั้งโลก เช่นเดียวกับการแพทย์และการบริการของไทย ไม่เป็นสองรองใครในโลก ต้องพัฒนาให้เป็นเมดิเคิลฮับ ทั้งเชิงรักษาและป้องกัน รวมถึงพวกศาสตร์ชะลอวัย ที่เป็นแม่เหล็กให้กลุ่มมั่งคั่งมาใช้ชีวิตในไทย ทั้งเมืองหลักเมืองรอง เป็นเวล บีอิ้ง อีโคโนมี และนำซอฟต์พาวเวอร์ทางวัฒนธรรม และความเป็นเมืองพุทธ ที่มีสถานที่ดี ๆ หลายแห่ง ให้ฝึกสติ ที่คนไทยและคนทั้งโลกกำลังแสวงหาความสงบสุข
ทั้งนี้เชื่อว่าใน 4 ปีจากนี้ จะเป็นห้วงเวลาที่คนไทยสามัคคีกลมเกลียวกัน ร่วมกันพัฒนาประเทศให้ก้าวกระโดดล้ำหน้า ในภูมิภาค เป็นไทยมหารัฐ ที่คนไทยมีความสุขกายและสบายใจเป็นแบบอย่างการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังอย่างแท้จริง ซึ่งนอกจากนี้รัฐบาลจำเป็นต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ระยะปานกลางหรือระยะยาวด้วย เช่น การรับมือปัญหาสูงวัย การปรับแรงงานจากเกษตรสู่ภาคบริการ และแก้ไขกฎระเบียบเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติหรือนักลงทุน ให้เข้ามาลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่องด้วย.
ทีมเศรษฐกิจ