นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวถึงการจัดทำงบประมาณแบบฐานศูนย์หรือซีโร่ บัดเจ็ทติ้ง (zero-based budgeting) พรรคก้าวไกลในฐานะพรรคที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลจะนำระบบการจัดทำงบประมาณแบบนี้มาใช้ในการจัดทำงบประมาณของประเทศ ว่า ในเรื่องนี้ สศช.ได้หารือกับสำนักงบประมาณในหลักการเบื้องต้นว่าการจัดทำงบประมาณแบบนี้สามารถทำได้หรือไม่เพราะถือเป็นเรื่องใหม่ที่ประเทศไทยไม่เคยใช้มาก่อน
ทั้งนี้ การจัดทำงบประมาณแบบฐานศูนย์ จะเป็นการจัดทำงบประมาณที่ไม่ได้อิงกับข้อมูลในอดีตแต่หน่วยงานต้องมีการชี้แจงโดยคาดการณ์ไปข้างหน้าว่างบประมาณที่ใช้นั้นมีงบประมาณอะไรบ้าง มีความจำเป็นอย่างไร ซึ่งต่างจากการทำงบประมาณแบบเดิมที่หน่วยงานราชการจะได้รับการจัดสรรงบประมาณโดยอ้างอิงจากวงเงินงบประมาณแบบเดิมและปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากปีงบประมาณที่ผ่านมาเป็นเปอร์เซ็นต์
นายดนุชาระบุว่า ในเบื้องต้นคาดว่าหากมีการใช้งบประมาณแบบฐานศูนย์นั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดีคือการสะท้อนการใช้งบประมาณไปในอนาคต แต่ข้อเสียก็คือเป็นระบบการจัดทำงบประมาณแบบที่ต้องใช้ฐานข้อมูลจำนวนมาก ต้องมีการเตรียมความพร้อมกับทุกหน่วยงานราชการมาก เพราะระบบงบประมาณเป็นระบบใหญ่ผูกพันไปทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานราชการส่วนกลาง ระบบการเบิกจ่ายของส่วนท้องถิ่น รวมไปถึงสถานศึกษาและสถานพยาบาลด้วยซึ่งคาดว่าจะไม่สามารถทำได้ในการจัดทำงบประมาณในปี 67 คาดว่าจะเริ่มทำได้ในปีงบประมาณ 68 หรือปี 69คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นอกจากนั้นจะต้องหารือกับพรรคการเมืองที่จะเข้ามาเป็นรัฐบาล และ 4 หน่วยงานเศรษฐกิจได้แก่ สศช. สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่าแนวทางการจัดทำงบประมาณแบบฐานศูนย์สำหรับประเทศไทยนั้นเหมาะสมที่จะทำทุกๆปีงบประมาณ หรือทำทุกๆ 5 ปี เพราะมีรายละเอียดและรูปแบบในการจัดทำที่แตกต่างกัน
“การจัดทำงบประมาณแบบฐานศูนย์ เป็นเรื่องใหม่ที่ต้องทำความเข้าใจกับทุกภาคส่วน เพราะระบบงบประมาณเป็นระบบใหญ่ และเกี่ยวข้องผูกพันกับทุกภาคส่วนของประเทศ คาดว่าหากจะปรับเปลี่ยนระบบการจัดทำงบประมาณของประเทศมาใช้ในระบบนี้จริงต้องมีการทำความเข้าใจ ซักซ้อมกับทุกหน่วยงาน รวมทั้งทำฐานข้อมูลต่างๆ ให้มีความพร้อมด้วย” นายดนุชา กล่าว