ในการสัมภาษณ์ดังกล่าว ผู้นำสหรัฐฯ พูดถึงสองประเด็นสำคัญประเด็นแรก สหรัฐฯ และประธานาธิบดีไบเดนเห็นด้วยกับอิสราเอลว่า กลุ่มฮามาสควรถูกกำจัดให้หมดไป และสหรัฐฯ ก็จะสนับสนุนอิสราเอลอย่างเต็มที่ในเรื่องนี้
แต่ประเด็นที่สองที่ผู้นำสหรัฐฯ พูดถึง เป็นการมองข้ามไปยังฉากจบของสงคราม นั่นก็คือหากอิสราเอลกำจัดกลุ่มฮามาสได้ อิสราเอลไม่ควรยึดครองพื้นที่ฉนวนกาซา เพราะนั่นจะกลายเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่หลวง
เลขาฯ ยูเอ็น ชี้ ตะวันออกกลางจ่อวิกฤต ร้องขอสองฝ่ายถอยโดยไม่มีเงื่อนไข
"อังกฤษ" แนะพลเมืองในกาซา เตรียมอพยพออกชายแดนอียิปต์
ผู้นำสหรัฐฯ ให้ความเห็นว่าหลังจากกำจัดกลุ่มฮามาสแล้ว สิ่งที่ควรเกิดขึ้นตามมาคือ การก่อตั้งรัฐปาเลสไตน์ตามแนวคิดแบบสองรัฐ หรือ Two State Solution และแบ่งพื้นที่ตามข้อตกลงขององค์การสหประชาชาติปี 1948
หลายฝ่ายระบุว่า การให้สัมภาษณ์ดังกล่าวของประธานาธิบดีไบเดนเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของสหรัฐฯ ที่มีต่อประเด็นอิสราเอล-ปาเลสไตน์ เพราะนี่เป็นการพูดสนับสนุนแนวคิดแบบสองรัฐ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ พูดสนับสนุนอิสราเอลในการปกป้องตนเอง และพยายามหลีกเลี่ยงการพูดถึงปัญหาปาเลสไตน์อย่างตรงไปตรงมา
ในวันที่สถานการณ์บนแผ่นดินอิสราเอลยังคงตึงเครียดและสุ่มเสี่ยงที่จะลุกลามกลายเป็นความขัดแย้งระดับภูมิภาคในตะวันออกกลาง สหรัฐฯ หนึ่งในชาติพันธมิตรรายสำคัญของอิสราเอลได้ส่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนอิสราเอลและชาติตะวันออกกลางต่างๆ ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ล่าสุดวันนี้ 16 ต.ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ มีกำหนดเดินทางกลับมาที่อิสราเอลอีกครั้ง หลังจากเสร็จสิ้นจากหารือร่วมกับผู้นำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของชาติอาหรับหลาย
แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เดินทางกลับมายังอิสราเอลอีกครั้ง หลังจบการเยือนหลายชาติในตะวันออกกลาง จุดประสงค์ของการกลับไปยังอิสราเอลอีกครั้งของบลิงเคนคือ เพื่อหารือร่วมกับเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ถึงหนทางในการคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส
การเดินทางกลับไปยังอิสราเอลในวันนี้ ถือเป็นการปิดฉากการเดินสายการทูตในภูมิภาคตะวันออกกลางของรัฐมนตรีการต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งมีเป้าหมายหลักคือ การป้องกันไม่ให้สงครามอิสราเอล-ฮามาสลุกลามกลายเป็นสงครามระดับภูมิภาค นอกจากนี้ยังเป็นไปเพื่อหาทางบรรเทาวิกฤตมนุษยธรรมในฉนวนกาซา เช่น การเปิดเส้นทางปลอดภัยสำหรับการอพยพออกจากฉนวนกาซา การส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเข้าไปในพื้นที่ หรือการเปิดเขตปลอดภัยภายในฉนวนกาซา
ตลอด 5 วันที่ผ่านมานับตั้งแต่วันพฤหัสที่ 12 ตุลาคม รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางไปเยือน 7 ประเทศได้แก่ จอร์แดน บาห์เรน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ รวมถึงได้พบประธานาธิบดีปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ทางการของปาเลสไตน์ที่ประชาคมโลกรับรองอำนาจ
ทั้งนี้ก่อนจะเดินทางกลับไปยังอิสราเอล บลิงเคนได้เปิดเผยกับสื่อหลังเยือนชาติตะวันออกกลางว่าสหรัฐฯ และทุกชาติที่เขาไปเยือนมีจุดยืนร่วมกันคือ ต้องการหาทางไม่ให้ความขัดแย้งอิสราเอล-ฮามาสบานปลายไปยังพื้นที่อื่น
รวมถึงต้องการหาทางปกป้องพลเรือนชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาเหมือนกัน โดยได้หารือเกี่ยวกับแนวทางที่จะสามารถช่วยเหลือประชาชนในฉนวนกาซาได้จริง
ย้อนกลับไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา ประเทศล่าสุดที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ไปเยือนคือ อียิปต์
อียิปต์ถือเป็นชาติที่อยู่ในสถานะที่อาจบรรเทาความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลและฉนวนกาซาได้ เนื่องจากเป็นชาติที่ควบคุมจุดผ่านแดนราฟาห์ จุดผ่านแดนจากฉนวนกาซามายังอียิปต์
อีกทั้งที่ผ่านมายังเคยเล่นบทบาทเป็นตัวกลางในการเจรจาระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์หลายครั้ง บลิงเคนได้เข้าหารือร่วมกับ ประธานาธิบดี อับดุล ฟัตตาห์ อัสซีซี ที่กรุงไคโร โดยผู้นำอียิปต์ได้กล่าวถึงการโจมตีฉนวนกาซาของอิสราเอลว่า อยู่ในระดับที่เกินเลยสิทธิในการป้องกันตนเองอย่างมาก จนกลายเป็นการ “ลงทัณฑ์หมู่” หรือ collective punishment ที่พลเรือนปาเลนสไตน์ได้รับผลกระทบข้างเคียงอย่างมหาศาล
พร้อมเน้นย้ำจุดยืนของอียิปต์ต่อสถานการณ์ในอิสราเอลและฉนวนกาซาในขณะนี้ว่า สิ่งที่อียิปต์ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกคือ การหาทางยุติความรุนแรงที่นำไปสู่การพลัดถิ่นของชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาและส่งผลกระทบมายังประเทศเพื่อนบ้าน ป้องปรามความขัดแย้งไม่ให้ลุกลาม และให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ประชาชนที่ติดอยู่ในฉนวนกาซา
ประเด็นหนึ่งที่หลายฝ่ายจับตาไปที่อียิปต์คือการเปิดเส้นทางราฟาห์ที่เชื่อมต่อระหว่างฉนวนกาซาและแหลมไซไนของอียิปต์สำหรับการขนส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการอพยพออกจากพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ทางการอิสราเอลประกาศสั่งให้ประชาชนอพยพออกจากตอนบนของฉนวนกาซาไปยังทางใต้
หลังจากที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ หารือกับประธานาธิบดีอียิปต์ สำนักข่าวอัล จาซีรารายงานว่า อียิปต์ตกลงที่จะเปิดจุดผ่านแดนราฟาห์อีกครั้ง โดยครั้งนี้จะอนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์ที่ถือสองสัญชาติเข้ามายังพรมแดนอียิปต์ แลกกับการที่อิสราเอลต้องยอมให้อิยิตป์ส่งความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมเข้าไปยังฉนวนกาซาได้อย่างปลอดภัย
สอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์ของบลิงเคนว่า จุดผ่านแดนราฟาห์จะกลับมาเปิดอีกครั้ง แม้ว่าจะไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าจะเปิดเมื่อไหร่ก็ตามอย่างไรก็ดี หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่านับตั้งแต่สงครามเริ่มต้น อียิปต์มีท่าทีที่ไม่เต็มใจและระมัดระวังอย่างมากว่าจะเปิดจุดผ่านแดนราฟาห์หรือไม่ และในครั้งนี้ ก็ยังไม่มีการระบุอย่างชัดเจนว่า ด่านราฟาห์จะเปิดเพื่อให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมเข้าไปได้เมื่อไหร่
ก่อนจะพบผู้นำอียิปต์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เดินทางไปเยือนกรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ชาติมหาอำนาจในภูมิภาคบลิงเคนได้เข้าเฝ้าเจ้าชาย ไฟซาล บิน ฟาร์ฮาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของซาอุดีอาระเบีย ที่ประณามการใช้ความรุนแรงต่อพลเรือนไม่ว่าจะมาจากฝั่งไหนก็ตาม
มีการตั้งข้อสังเกตว่า คำกล่าวขณะหารือร่วมกับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ สะท้อนจุดยืนของซาอุดีอาระเบียต่อปัญหาอิสราเอล-ฮามาสในขณะนี้ว่า ซาอุดีอาระเบียยังคงเล่นบทบาทพิทักษ์ปาเลสไตน์ในฐานะชาติอาหรับอย่างเช่นที่ผ่านมา และมีแนวโน้มจะมองว่าฮามาสเป็นผู้ทำลายการปรับความสัมพันธ์ระหว่างชาติของตนเองกับอิสราเอล ซึ่งซาอุดีอาระเบียมองว่าเป็นหนทางในการสร้างเสถียรภาพในตะวันออกกลาง
นอกจากนี้ อีกชาติหนึ่งที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางไปหารือในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านคือ กาตาร์ โดยที่ผ่านมา หลายฝ่ายคาดว่ากาตาร์อาจเป็นหนึ่งในชาติที่เล่นบทบาทตัวกลางในการเจรจาระหว่างอิสราเอลและฮามาสได้ เนื่องจากกาตาร์มีช่องทางติดต่อสื่อสารกับกลุ่มฮามาส
ในระหว่างการแถลงร่วมกันของบลิงเคนและ โมฮัมมัด บิน อับดุลเราะฮ์มาน บิน อัล ธานี นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศกาตาร์ผู้นำกาตาร์ได้ระบุถึงความสำคัญในการเปิดช่องทางเจรจาและการสื่อสาร เพื่อยุติความขัดแย้ง
นอกจากนี้ อีกประเด็นที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้หารือร่วมกับผู้นำกาตาร์คือ การปล่อยตัวประกันที่กลุ่มฮามาสจับเข้าไปในฉนวนกาซา
ส่วนประเทศอื่นๆ ที่บลิงเคนเดินสายที่ผ่านมา ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน จอร์แดน ซึ่งเป็นที่ที่ได้พบประธานาธิบดีปาเลสไตน์ที่มีอำนาจปกครองเขตเวสต์แบงค์โดยชาติอาหรับเหล่านี้แสดงจุดยืนที่ใกล้เคียงกันคือ
การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่พลเรือนที่อยู่ในฉนวนกาซา โดยเฉพาะความช่วยเหลือด้านการแพทย์ การเปิดระเบียงทางมนุษยธรรมเชื่อมต่อเข้าไปในกับฉนวนกาซา และเรียกร้องให้การสู้รบระหว่างอิสราเอลและฮามาสยุติลง
ขณะเดียวกัน เมื่อวานนี้กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือเพนตากอน ได้สั่งให้กองเรือบรรทุกเครื่องบินรบ “ยูเอสเอส ดไวท์ ดี ไอเซนฮาวเออร์ แคริเออร์ สไตรก์ กรุ๊ป” (USS Dwight D. Eisenhower Carrier Strike Group) เดินทางจากเมืองนอร์ฟอล์ก รัฐเวอร์จิเนีย ไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก
“ยูเอสเอส ดไวท์ ดี ไอเซนฮาวเออร์ แคริเออร์ สไตรก์ กรุ๊ป” คือกองเรือบรรทุกเครื่องบินรบจากสหรัฐฯ กองที่ 2 ที่ถูกส่งไปยังภูมิภาคทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก ต่อจากกองเรือบรรทุกเครื่องบินรบ “ยูเอสเอส เจอร์ราลด์ อาร์ ฟอร์ด แคริเออร์ สไตรก์ กรุ๊ป” (USS Gerald R. Ford Carrier Strike Group) ที่สหรัฐฯ ส่งไปยังภูมิภาคดังกล่าวเพียงไม่กี่วันหลังกลุ่มติดอาวุธฮามาสก่อเหตุโจมตีอิสราเอลเมื่อวันเสาร์ที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา
ในแถลงการณ์ดังกล่าว ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมระบุว่า การส่งกองเรือบรรทุกเครื่องบินเข้ามายังทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก ไม่ใช่เพื่อเข้ามาสนับสนุนหรือเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการทางการทหารของอิสราเอลต่อกลุ่มฮามาส
แต่เพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้อิหร่านเข้ามาเกี่ยวข้องกับสงคราม จนทำให้ความขัดแย้งและสงครามขยายวงออกไป และเมื่อคืนที่ผ่านมา จอห์น เคอร์บี โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ แถลงย้ำจุดยืนนี้ของสหรัฐฯ อีกครั้ง
ตรวจหวยงวดนี้ – ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ลอตเตอรี่ 16/10/66
ตรวจผลออกรางวัลสลากออมสินพิเศษ 1 ปี งวดวันที่ 16 ตุลาคม 2566
ยืนยัน ซูเปอร์แอปฯ เสร็จทันแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท